แท็ก: สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น
ซึมซับวัฒนธรรมท้องถิ่น กับเรื่องเล่าผ่านกาลเวลาในบ้านของก๋ง
เปอรานากัน หรือที่หลายคนคุ้นหูกันกับ “บาบ๋า-ย่าหยา” สายเลือดลูกผสมระหว่างจีน - มาลายู ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในแถบคาบสมุทรมลายู – อินโดนีเซีย เมื่อมีการร่วมตัวมากขึ้น จึงเกิดการสร้างวัฒนธรรมสะท้อนอัตลักษณ์ เต็มไปด้วยเสน่ห์ชวนหลงใหล และเพื่อถ่ายทอดความความภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งเมืองตะกั่วป่า ของครอบครัวอนุศาสนนันท์ ซึ่งเป็นลูกหลานชาวบาบ๋า-ย่าหยา โดยแท้ จึงเกิดความตั้งใจสร้างสรรค์ Hotel Gahn (โรงแรมกาล) ที่มาจากคำว่า กาลเวลา แห่งนี้ขึ่น
ภายในเต็มเปี่ยมไปด้วยความทรงจำ ความผูกพัน และเรื่องราวของก๋งที่ได้แล่นเรือสำเภามาจากเมืองจีน สะท้อนผ่านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นร่วมสมัย ผ่านวัสดุที่นำมาใช้ การแต่งกายด้วยชุดผ้าปาเต๊ะ ตลอดจนอาหารท้องถิ่นรสชาติแบบดั้งเดิม ด้วยผลงานการออกแบบของทีมสถาปนิกจาก Studio Locomotive ที่ได้ร่วมกันตกผนึกความคิดกับผู้เป็นเจ้าของได้อย่างลุ่มลึก มากกว่าการเข้ามาพักผ่อน แต่ที่นี่ยังสร้างการรับรู้ต่อพื้นที่ได้อย่างน่าประทับใจ
Hotel Gahn เป็นโรงแรมขนาดเล็ก มีทำเลอยู่ในเขาหลัก ใจกลางเมืองพังงา โลโก้ของโรงแรมน่าสนใจด้วยการนำตัวอักษรจีน 家 ที่มีความหมายว่าบ้าน หรือครอบครัว โดยนำส่วนที่อยู่ด้านบนของอักษรครอบชื่อ Hotel Gahn ไว้ จึงไม่เพียงแค่สร้างอัตลักษณ์ให้แบรนด์...
สะท้อนเอกลักษณ์ภาคใต้ สู่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นร่วมสมัย
LAEKHONNONBAI/แลคอนนอนบาย โรงแรมขนาดเล็ก โดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ จนได้รับรางวัลการออกแบบระดับเอเชีย จาก DFA Design fot Asia Awards 2019 Hong kong Design Centre ตั้งอยู่ใจกลางเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเมืองแห่งประวัติศาตร์สำคัญของภาคใต้ ด้วยการออกแบบเชื่อมโยงกับบริบทที่ตั้ง โดยดึงจุดเด่นงานพื้นถิ่น สร้างสรรค์สู่สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นร่วมสมัย ด้วยความร่วมมือของคุณวิรุจ ถิ่นนคร ผู้เป็นเจ้าของและอาจารย์ประจำสาขาวิชาสถาปัตยกรรม สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตกผลึกความคิดร่วมกับคุณจูน เซคิโน สถาปนิกแห่ง JUNSEKINO Architecture and Design
โครงสร้างอาคาร 5 ชั้น ตั้งตระหง่านโชว์ความดิบเท่ สะท้อนภูมิปัญญาพื้นถิ่น ผ่านวัสดุก่อสร้างที่หาได้ง่ายในท้องที่ ไม่ว่าจะเป็นไม้ ปูน อิฐ บล็อกแก้ว และเหล็ก ด้วยแนวคิดการจัดเรียงวัสดุใหม่ (RE-CODE) สร้างความกลมกับบริบทรอบข้างอย่างอ่อนน้อม
จากลักษณะอาคารทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้เกิดรูปด้านเพียงด้านเดียว ส่งผลให้อาคารดูหนักและทึบตัน...
สะท้อนเอกลักษณ์ของท้องถิ่นสู่ “ลำยวน กาญจนบุรี”
จากพื้นที่เสี้ยวสามเหลี่ยมติดถนนข้างบ้านคุณแม่ ถูกปล่อยทิ้งเป็นป่ารกร้างมานานกว่า 10 ปี กลับพลิกฟื้นคืนชีวิตสู่คาเฟ่และสตูดิโอออกแบบภายใต้ชื่อ “ลำยวน” ซึ่งมาจากชื่อของผู้เป็นแม่ ด้วยคอนเซ็ปต์ที่ต้องการแสดงตัวตน และเอกลักษณ์ความเป็นไทยตามวิถีชนบท ถ่ายทอดออกมาเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีความร่วมสมัย ด้วยวัสดุที่เป็นของเดิมในพื้นที่ผ่านฝีมือของลูกชายคือ คุณธนพนธ์ โพธิ์ทอง เจ้าของร้านและสถาปนิกผู้ออกแบบ
ตัวอาคารทรงจั่วสีขาว ตั้งอยู่บนพื้นที่ใช้สอย 97 ตารางเมตร ตัดกับสีเขียวของต้นสาเกขนาดใหญ่ที่คุณแม่ลำยวนปลูกมานานหลายสิบปี ถูกถ่ายทอดความเป็นพื้นถิ่นที่มีความร่วมสมัย ผสานกลิ่นอายของความเป็นมินิมอล โดยการนำเอารูปแบบวิถีชีวิตชนบทสมัยก่อนของคุณแม่ลำยวน ถ่ายทอดสู่รูปแบบของอาคารรวมทั้งการตกแต่งภายใน ผ่านการใช้วัสดุที่เป็นของเดิมซึ่งนำมาจากยุ้งข้าวหลังเก่า
ตัวบ้านคุมโทนด้วยสีขาว คงไว้ซึ่งความเรียบง่ายด้วยการนำหน้าต่างไม้บานเกล็ดเข้ามาผสมผสาน เสริมให้ภาพรวมดูอบอุ่นคุ้นเคยคล้ายได้มาเยือนบ้านญาติผู้ใหญ่ การออกแบบภายในยังคงคอนเซ็ปต์เดิมของยุ้งข้าวคือมีการยกใต้ถุนสูงเล็กน้อย ส่วนแรกเราจะพบโถงทางเข้าที่ถูกออกแบบให้มีลักษณะ Double Space ยิ่งเพิ่มความรู้สึกโปร่ง โล่งสบาย ก่อนจะพาขึ้นไปยังชั้นลอยด้วยบันไดไม้เก่าที่รื้อมาจากยุ้งข้าวเก่า ยิ่งสะท้อนวิถีชีวิตสมัยก่อนได้อย่างมีเสน่ห์
เมื่อเดินผ่านโถงบริเวณนี้ไปจะสังเกตว่าหลังคาได้ถูกลดทอนลงมาระดับหนึ่ง ส่วนนี้ได้ถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่กึ่งโอเพ่นแอร์ เชื่อมต่อภายในและระเบียงไม้ด้านนอกให้ถึงกันด้วยประตูไม้บานเฟี้ยม สำหรับเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จะเน้นเป็นเฟอร์นิเจอร์หวาย
ด้านงานตกแต่งให้ความเรียบง่ายทว่างดงามมีความเป็นไทยด้วยงานหัตถกรรมพื้นบ้าน อย่างกระด้งที่ถูกนำมาสร้างศิลปะบนผนัง ตัดกับสีเทาของคอนกรีตได้อย่างสะดุดตา รวมทั้งโคมไฟสานที่มีลักษณะคล้ายสุ่มไก่
ด้วยพื้นเพด้วยคุณแม่ลำยวนซึ่งเคยเป็นชาวนามาก่อน สถาปนิกจึงได้ดึงกิมมิกตรงนี้มาสร้างเรื่องราวสื่อถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย สะท้อนภูมิปัญญาชนบท ด้วยการนำเคียวเกี่ยวข้าว ฝัดข้าว และไม้สำหรับเกลี่ยข้าว เข้ามาเสริมให้งานตกแต่งเต็มไปด้วยเสน่ห์ สร้างความรู้สึกอบอุ่นเป็นกันเองให้ผู้มาเยือนได้เป็นอย่างดี
มาที่เมนูอาหารกันบ้าง เริ่มกันที่เมนูอาหารไทยๆ...